รูปภาพกิจกรรม
รูปภาพกิจกรรม
ข้อสอบวัดแววความเป็นครู
ตามที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีมติให้ดำเนินการพัฒนาข้อสอบวัดแววความเป็นครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 38 แห่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาครูที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏและ
เป็นมาตรฐานในการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาครูตลอดระยะเวลาที่ศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตนั้น
นายดิเรก พรสีมา คณบดีวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและประธานโครงการสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดแววความเป็นครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏให้รับผิดชอบ
ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาข้อสอบวัดแววความเป็นครู โดยแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง
เพื่อส่งตัวแทนบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการวัดและประเมินผลเพื่อดำเนินการสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดแววความเป็นครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำกรอบความคิดตามองค์ประกอบแววความเป็นครู สร้างและพัฒนาข้อสอบที่ได้มาตรฐาน
โดยเชิญวิทยากรผู้เชียวชาญในการสร้างข้อสอบระดับประเทศ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี รองศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ไชยโส
และแบ่งการระดมความคิดในการสร้างและพัฒนาข้อสอบที่ได้มาตรฐานตามภูมิภาค
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2563 ณ จังหวัดเชียงใหม่
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563 ณ จังหวัดอุดรธานี
ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2563 ณ จังหวัดสงขลา
ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2563 ณ จังหวัดเพชรบุรี
และวันที่ 14-16 สิงหาคม 2563 ที่ผ่ามมาได้มีการอบรมกลุ่มอภิปรายเชิงปฏิบัติการวิพากษ์และคัดเลือกข้อสอบที่ได้มาตรฐาน ณ ห้องประชุมโรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ จังหวัดกรุงเทพฯ
โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างข้อสอบระดับประเทศจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยทักษิณ มาเป็นพี่เลี้ยงให้กับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้รับการคัดเลือก
ว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการออกข้อสอบมาจำนวนหนึ่งมาร่วมกันคัดกรองข้อสอบที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งร่วมกันสร้างมา
การอภิปรายเชิงปฏิบัติการวิพากษ์และคัดเลือกข้อสอบตามมาตรฐาน 3 องค์ประกอบคือ
1) ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆของประเทศและของโลกที่นักเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ควรรู้ ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเศรฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การศึกษา
2) ด้านความรัก ศรัทธา และสนใจในวิชาชีพครู จะวัดว่าเขาชอบการสอนหรือไม่ เชื่อมั่น ศรัทธาในวิชาชีพไหม ตั้งใจ พอใจที่จะร่วมพัฒนาวิชาชีพครูไหม
ยอมรับความแตกต่างของเด็กไหม จิตใจดีไหม มีคุณธรรมไหม และ
3) ด้านลักษณะนิสัยและการแสดงออกว่าเหมาะสมจะประกอบวิชาชีพครูหรือไม่ เช่นวางแผนการทำงานเป็นหรือไม่ ภาษาดีไหม ใช้เทคโนโลยีเป็นไหม ใช้เหตุผลเชิงปริมาณ/ตัวเลขเป็นไหม
สามารถเข้ากับชุมชนได้ดีไหม เป็นต้น
การวัดให้มี validity ในเรื่องข้างต้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่เราก็ได้ผู้เขี่ยวชาญระดับประเทศมานั่งทำ นั่งให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาเดือนเศษๆ ที่ผ่านมา ณ วันนี้จะเสร็จแล้ว
วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีความพอใจกับข้อสอบชุดนี้ และถ้านำไปใช้คัดเลือกนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เข้าเรียนครู น่าจะได้นักศึกษาครูที่มีคุณภาพต่อไป
ดิเรก พรสีมา
ประธานโครงการฯ
คลิกชมภาพเพิ่มเติม
×