วิทยาลัยการฝึกหัดครู

ปรัชญา วิสัยทัศน์

ปรัชญา (Philosophy)

“ครูที่ดี มีปัญญา จะสามารถพัฒนาวิชาชีพครูและสังคมได้อย่างยั่งยืน”

 

 วิสัยทัศน์เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครู

"วิทยาลัยการฝึกหัดครูจะเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างแก่สถาบันผลิตครูทั้งประเทศในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาครูแบบ Active Learning เพื่อให้บัณฑิตครูและผู้ประกอบการวิชาชีพครูในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และจิตวิญญาณความเป็นครูสูง เป็นที่ต้องการของหน่วยงานผู้ผลิตและผู้ใช้ครูทั่วประเทศ"


วิสัยทัศน์เกี่ยวกับบัณฑิตครู

๑. บัณฑิตครูของวิทยาลัยการฝึกหัดครู สอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู และ/หรือประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาที่ตนศึกษามาได้ภายในเวลา ๑ ปี หลังการสำเร็จการศึกษา
๒. บัณฑิตครูมีคุณลักษณะและพฤติกรรมสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพตามคุรุสภากำหนด ทั้ง ๔ ด้าน คือ (๑) ความรู้ (๒) จรรยาบรรณวิชาชีพ (๓) ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นและชุมชน (๔) การผสมความรู้ จรรยาบรรณวิชาชีพ และความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นและชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
๓. บัณฑิตครูมีคุณลักษณะและพฤติกรรมสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด ทั้ง ๖ ด้าน คือ (๑) คุณธรรมและจริยธรรมิ (๒) ความรู้ (๓) ทักษะทางปัญญา (๔) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (๕) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (๖) วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้
๔. บัณฑิตของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับอัตลักษณ์สี่ของบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
๕. บัณฑิตครูมีลักษณะและพฤติกรรมของความเป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง

วิสัยทัศน์เกี่ยวกับวิทยาลัยการฝึกหัดครู
๑. คณาจารย์ของวิทยาลัยการฝึกหัดครูรู้วิสัยทัศน์และเป้าหมายของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มีจิตวิญญาณความเป็นอาจารย์สูง มีจิตอาสา มีวินัย ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่เต็มความสามารถด้วยความเต็มใจโดยไม่รู้สึกถูกบังคับ และพัฒนาตนเองให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยการฝึกหัดครูบรรลุเเละเป็นจริง
๒. วิทยาลัยการฝึกหัดครู เป็นผู้นำในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยอาศัยกระบวนการ School Integrated Learning (SIL) และใช้บริบทของท้องถิ่นและชุมชนเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู
๓. คณาจารย์ของวิทยาลัยการฝึกหัดครู บูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การพัฒนาครูและผู้บริหารโรงเรียน และการให้บริการทางวิชาการแก่ครูและประชาชนในเขตพื้นที่บริการให้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
๔. คณาจารย์ของวิทยาลัยการฝึกหัดครูทุกคนทันสมัย ใช้ความรู้และเทคโนโลยีร่วมสมัยในการทำงาน เป็นเจ้าของวิทยาลัยการฝึกหัดครูร่วมแบ่งปันความสำเร็จและความล้มเหลวของวิทยาลัยการฝึกหัดครู
๕. วิทยาลัยการฝึกหัดครูมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการสูง

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร