วิทยาลัยการฝึกหัดครู

กระบวนการวิจัยและพัฒนา  R&D

โครงการย่อย

ชื่อโครงการ

กระบวนการวิจัยและพัฒนา  R&D

R1

D1

R2

D2

1

กลยุทธ์การบริหารงานที่สนับสนุนและเอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

1. ศึกษาสภาพปัญหา ข้อจํากัดต่างๆ ในการบริหารงบประมาณและการเงิน บริหารงานบุคลากร กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพลิกโฉมผลิตและพัฒนาครู โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาครู  ประชุมสนทนากลุ่มผู้ปฏิบัติงานในระบบโครงสร้างการบริหารส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. ใช้แบบสอบถามสภาพปัญหา และแนวทางการปรับกลยุทธ์ ให้มีความคล่องตัว สร้างแรงจูงใจให้แก่อาจารย์และบุคลากรในการปฏิบัติงาน     เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ

3. วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

4. สรุปสภาพปัญหา และแนวทางในการปรับโครงสร้างการบริหารงานที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

ร่างกลยุทธ์การบริหารงานที่สนับสนุนการดําเนินงาน และร่างคู่มือแนวปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน ระบบบริหารงานบุคคล   กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารของคณะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายแผนงบประมาณ การเงิน นิติกร และเจ้าหน้าที่บุคลากร เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารงานที่สนับสนุนการดําเนินงาน และร่างคู่มือแนวปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน ระบบบริหารงานบุคคล กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครูฯ

1.ปรับปรุงแก้ไขร่างกลยุทธ์การบริหารงานที่สนับสนุนการดําเนินงาน และร่างคู่มือแนวปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน ระบบบริหารงานบุคคล กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ตามความคิดเห็นของที่ประชุมสนทนากลุ่ม

2. จัดทํากลยุทธ์การบริหารงานที่สนับสนุนการดําเนินงานและคู่มือแนวปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน ระบบบริหารงานบุคคล กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ เพื่อนําไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

 

โครงการย่อย

ชื่อโครงการ

กระบวนการวิจัยและพัฒนา  R&D

R1

D1

R2

D2

2

การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

1. ประชุมปรึกษาหารือระดมสมองในการพัฒนาระบบรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LifeLong Learning) สําหรับคนในพื้นที่ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร credit bank และระบบพี่เลี้ยงชาวต่างชาติ

2. จัดตั้งคณะอนุกรรมดําเนินงานในแต่ละกิจกรรมย่อย

-คณะกรรมการพัฒนาระบบรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ผ่านระบบ credit bank

-คณะกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์ม PNRU Credit Bank สําหรับให้บริการนักศึกษาแบบ self service

-คณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อการผลิตและพัฒนาครูแบบ Credit Bank

-คณะกรรมการพัฒนาระบบการสนับสนุนและช่วยเหลืออาจารย์และครูในพื้นที่บริการพี่เลี้ยงผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนและการวิจัยชาวต่างชาติในรูปแบบต่างๆ

ประชุมชี้แจง วางแผนและออกแบบในอนุกรรมการดําเนินการเพื่อให้ได้แนวทางและกรอบแนวคิดของผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดในเดือนที่ 6

1.ประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบคุณภาพของกรอบแนวคิดของผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดในเดือนที่ 6 ที่ได้รับของแต่ละกลุ่มอนุกรรมการย่อย

2.ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมและนําไปปรับปรุงแก้ไข

1.จัดทําโครงสร้างและรูปแบบการดําเนินงานด้านการพัฒนา จัดการ ดูแล ระบบและแฟลตฟอร์ม credit bank สําหรับให้บริการนักศึกษาแบบ self service ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมใช้และนําไปประชา สัมพันธ์รับนักศึกษาในปีการศึกษา 2566

2.จัดทําโครงสร้างหลักสูตรที่เข้าร่วม credit bank

3.จัดทํารูปแบบระบบสนับสนุนและช่วยเหลืออาจารย์และครูในพื้นที่บริการผ่านระบบพี่เลี้ยงผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนและการวิจัยชาวต่างชาติ

 

โครงการย่อย

ชื่อโครงการ

กระบวนการวิจัยและพัฒนา  R&D

R1

D1

R2

D2

3

การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงที่สนับสนุนและเอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

1. ศึกษาความต้องการจําเป็นในการสร้างและพัฒนาระบบพี่เลี้ยงเพื่อการพลิกโฉมผลิตและพัฒนาครู โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการผลิตและพัฒนาครู เช่น ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ครูคลังสมอง ครูต้นแบบ ครูดีเด่น ครูที่มีความเชี่ยวชาญ

2. ดําเนินการสอบถามสภาพปัญหา และแนวทางการในการจัดระบบพี่เลี้ยง จากครูในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เพื่อการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงรุก (Active Learning) ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ

3. วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

4. สรุปสภาพปัญหา และแนวทางในการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

1. ร่างกลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง ออกแบบระบบ และร่างคู่มือแนวปฏิบัติงานของอาจารย์พี่เลี้ยง ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครูฯ

2. ประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group)  เพื่อพิจารณาร่างกลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง ออกแบบระบบ และร่างคู่มือแนวปฏิบัติของอาจารย์พี่เลี้ยง ที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู ร่วมกับครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ครูคลังสมอง ครูต้นแบบ ครูดีเด่น ครูที่มีความเชี่ยวชาญ

3. ปรับปรุงแก้ไขร่างกลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง และร่างคู่มือแนวปฏิบัติงานของอาจารย์พี่เลี้ยงฯ  เพื่อนําไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป

1. นํากลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง และคู่มือแนวปฏิบัติของอาจารย์พี่เลี้ยง ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยบริเวณกรุงเทพฝั่งเหนือ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครูที่เข้าร่วมกิจกรรม ระดับละ 30 คนรวม 60 คน ทั้งนี้อาจารย์พี่เลี้ยง คือ ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ครูคลังสมอง ครูต้นแบบ ครูดีเด่น ครูที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์จากวิทยาลัยการฝึกหัดครู

2. ดําเนินการประเมินโครงการ และประเมินความพึงพอใจของครูที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถาม

1. จัดทํากลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง และคู่มือแนวปฏิบัติของอาจารย์  พี่เลี้ยง ฉบับสมบูรณ์

2. นําเสนอกลยุทธ์การบริหารงานระบบพี่เลี้ยง และคู่มือแนวปฏิบัติของอาจารย์พี่เลี้ยง ฉบับสมบูรณ์ ต่อวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

โครงการย่อย

ชื่อโครงการ

กระบวนการวิจัยและพัฒนา  R&D

R1

D1

R2

D2

4

การบริหารจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและชุมชนที่เอื้อต่อการพลิกโฉมการผลิตและพัฒนาครู

1. ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจําเป็น และแนวทางการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน โดยการสนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องอาทิ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในสถานศึกษา หน่วยงานในท้องถิ่น

2. ดําเนินการสอบถามสภาพปัญหา ความต้องการจําเป็น และแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน โดยใช้แบบสอบถาม

3. วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

4. สรุปสภาพปัญหา ความต้องการจําเป็นและแนวทางการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

1.ออกแบบรูปแบบและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามความต้องการจําเป็น และแนวทางการบริหารจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

2.ตรวจความเหมาะสมของรูปแบบและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group)

3.ปรับปรุงแก้ไขร่างรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

1.ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

2.ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

1.ปรับแก้ไขรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชน

2.เผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  แบบบูรณาการกับโรงเรียนและพื้นที่ชุมชนของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร