สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว วิทยาลัยการฝึกหัดครู

เกี่ยวกับสาขาวิชา

หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
      รหัสหลักสูตร     :     25451501101424   
      ชื่อภาษาไทย     :     หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
        ชื่อภาษาอังกฤษ  :     Bachelor of Arts Program in Counseling Psychology and Guidance
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ไทย)           :         ศิลปศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว)
    ชื่อย่อ (ไทย)            :         ศศ.บ. (จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว)
    ชื่อเต็ม (อังกฤษ)       :         Bachelor of Arts (Counseling Psychology and Guidance)
    ชื่อย่อ (อังกฤษ)        :         B.A. (Counseling Psychology and Guidance)                     
3. วิชาเอก
    สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า   124   หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
    5.1 รูปแบบ
         หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
          หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.3  ภาษาที่ใช้
         หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย โดยใช้เอกสารประกอบการสอนและตำราเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
    5.4  การรับเข้าศึกษา
         นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
 
    5.5  ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
         เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
    5.6  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
         ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
          6.1 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
พ.ศ. 2556   เริ่มดำเนินการใช้หลักสูตรในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561
          6.2 ได้พิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการวิทยาลัยการฝึกหัดครู ในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่  25 เดือน กันยายน พ.ศ. 2560
          6.3  ได้พิจารณาเห็นชอบหลักสูตรโดยสภาวิชาการ  ในการประชุมครั้งทึ่ 7/2561 
เมื่อวันที่ 21 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
          6.4 ได้พิจารณาเห็นชอบโดยคณะกรรมการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย
ฝ่ายกลั่นกรองหลักสูตร  ในการประชุมครั้งที่ 11/2561  เมื่อวันที่ 9 เดือน มีนาคม   พ.ศ  2561 
          6.5 ได้รับอนุมัติ/ เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัย  ในการประชุมครั้งที่ 4/2561     
 เมื่อวันที่  16 เดือน มีนาคม  พ.ศ  2561
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
       ปีการศึกษา 2563
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    8.1 นักจิตวิทยา นักแนะแนว และผู้ให้คำปรึกษาในสถานศึกษา
    8.2 นักวิชาการด้านจิตวิทยาในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
    8.3 เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน
    8.4 นักจิตวิทยาและเจ้าหน้าที่ในมูลนิธิและหน่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์
 
หมวดที่ 2  ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
 
     1.1 ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร   
1.1 ปรัชญา
          ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ และเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนและบุคคลในสังคมอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของจริยธรรมวิชาชีพ
     1.2 ความสำคัญ
          สาขาวิชาจิตวิทยา ได้นำหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 มาเป็นหลักและแนวทางการจัดการเรียนการสอน ประกอบกับผลการสำรวจและประเมินหลักสูตรจากผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับด้านบริบทในการจัดการเรียนการสอน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านกระบวนการเพื่อการนำมาปรับหลักสูตรให้มีคุณภาพ คณะกรรมการสาขาวิชา จึงเห็นสมควรที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2561 ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตรงตามมาตรฐานวิชาชีพทางจิตวิทยา มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของแหล่งงานด้านจิตวิทยา และสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตในศตวรรษที่ 21
    1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
          1.3.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีด้านจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนวใฝ่รู้ใฝ่เรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา
          1.3.2 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
          1.3.3 มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ สู่การปฏิบัติ ตลอดจนเพิ่มพูนทักษะด้านวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ
          1.3.4 มีบุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่น และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี
          1.3.5 มีความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนมีความคิดวิเคราะห์และสามารถแก้ปัญหาได้

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร