สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู

เกี่ยวกับสาขาวิชา

ปรัชญา  ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
     1.1   ปรัชญา
   ผลิตครูที่มีความรู้ เชี่ยวชาญด้านดนตรี มีศิลปะในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มุ่งสืบสานวัฒนธรรม ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพครู
     1.2   ความสำคัญ
   องค์ความรู้ด้านดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการถ่ายทอด เพื่อการพัฒนาเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นหลักสูตรจึงมีความสำคัญต่อการผลิตครูดนตรีที่มีคุณภาพพื้นฐานวัฒนธรรม คุณธรรม  จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพเพื่อพัฒนาสังคม
     1.3   วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
              เพื่อผลิตครูสาขาวิชาชีพดนตรีศึกษาให้มีคุณลักษณะดังนี้
             (1) มุ่งเน้นให้ตระหนักคุณค่า ความเชี่ยวชาญด้านดนตรี มีความใฝ่รู้ มีความคิดวิเคราะห์และ
สร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ ใช้ในการจัดการเรียนรู้
             (2) มีวินัย ความอดทน มีมนุษยสัมพันธ์ และทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ดี
            (3) มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   (4) เป็นผู้มีจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณ รวมทั้งมีจิตสำนึกและภูมิใจในวิชาชีพครูดนตรี
 
ระบบการจัดการศึกษา  การดำเนินการ  และโครงสร้างของหลักสูตร
 
1.  ระบบการจัดการศึกษา
     1.1 ระบบ
           การจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค  โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษารวมทั้งเวลาสอบไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  มหาวิทยาลัยอาจจัดภาคการศึกษาฤดูร้อนโดยกำหนดระยะเวลาของแต่ละรายวิชาให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคการศึกษาปกติ
     1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
         อาจจะมีการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน จำนวนไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์
     1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ว่าด้วยการโอนผลการเรียนและยกเว้นการศึกษารายวิชา พุทธศักราช 2548 ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องหลักการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ พ.ศ. 2545 และประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่องข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญา
    
2.  การดำเนินการหลักสูตร
     2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
              ภาคการศึกษาที่ 1         เดือนมิถุนายน             ถึง       เดือนกันยายน
              ภาคการศึกษาที่ 2         เดือนพฤศจิกายน           ถึง       เดือนกุมภาพันธ์
              ภาคฤดูร้อน                เดือนมีนาคม               ถึง       เดือนพฤษภาคม
              ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
     2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
          จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือเป็นไปตามประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
     2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
 2.3.1 การปรับตัวในการเรียนระบบอุดมศึกษา ซึ่งเป็นระบบเน้นการเรียนรู้และควบคุมตนเอง
 2.3.2 นักศึกษาแรกเข้ามีพื้นฐานความรู้ในระดับที่แตกต่างกัน อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทางการศึกษา
 
     2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3                     จัดปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และสาขาวิชา จัดประชุมผู้ปกครอง จัดระบบการปรึกษา แนะแนว โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาและฝ่ายกิจการนักศึกษาดูแลประสานงานกับคณาจารย์ผู้สอน และผู้ปกครองในกรณีที่มีปัญหา

  1. แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
นักศึกษา จำนวนนักศึกษาที่รับแต่ละปีการศึกษา
2562 2563 2564 2565 2566
ชั้นปีที่ 1 30 30 30 30 30
ชั้นปีที่ 2 - 30 30 30 30
ชั้นปีที่ 3 - - 30 30 30
ชั้นปีที่ 4 - - - 30 30
รวม 30 60 90 120 120
คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา - - - 30 30

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร